HOW IT BEGUN ??


จุดกำเนิดของเซลล์เชื้อเพลิงทุกวันนี้เริ่มต้นมาจากผลของการคิดค้นก๊าซไฮโดรเจน โดยในปี ค.ศ. 1801 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ ฮัมพรี่ ดาวี่ (Sir Humphry Davy) ได้คิดค้นหลักการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า หรือ อิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis) เพื่อให้ได้มาซึ่งก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นที่มาของการคิดค้นหลักการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงในเวลาต่อมา

โดยหลักการของเซลล์เชื้อเพลิงได้ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก โดยนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายเยอรมัน-สวิส ชื่อ คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) ในปี ค.ศ. 1838 และตีพิมพ์ในเดือนมกราคมปีถัดมาใน "Philosophical Magazine"

THE 1ST FUEL CELL WAS BORN


จากหลักการที่อยู่ในบทความชิ้นดังกล่าวนี้ เซลล์เชื้อเพลิงได้ถูกนำสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวลส์ (Welsh) ชื่อ เซอร์ วิลเลียม โรเบิร์ต กรูฟ (Sir William Robert Grove) ต้นแบบของเขาได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1843 โดยใช้ชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “Gas Battery” ซึ่งเราถือว่าเซอร์ วิลเลียม โรเบิร์ต กรูฟ (Sir William Robert Grove) เป็น “บิดาแห่งเชื้อเพลิง (Father of Fuel Cell)” เนื่องจากได้มีการสร้างเซลล์เชื้อเพลิงตัวแรกของโลกขึ้นมาได้สำเร็จ

HOW IT WORKS ??


เซลล์เชื้อเพลิงเป็นการทำปฎิกิริยาไฟฟ้าเคมี หรือ Electro-Chemical ระหว่างก๊าซไฮโดรเจน (H2) กับก๊าซออกซิเจน (O2) ที่มีอยู่ในอากาศ อะตอมของไฮโดรเจนผ่านวิ่งผ่านเมมเบรนที่เคลือบสารเร่งปฎิกิริยา หรือ Electrolyte โดยปลดปล่อยอิเลคตรอนในไฮโดรเจนออกมา จะได้กระแสไฟฟ้าตรง หรือ DC

การทำปฎิกิริยาของเซลล์เชื้อเพลิง จะไม่มีการเผาไหม้ ไม่ก่อมลพิษ ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (หรือก๊าซเรือนกระจก) ผลลัพธ์ของการทำปฎิกิริยาคือ น้ำบริสุทธิ์ (H2O) ปล่อยออกมา


2H2 + O2 --> 2 H2O + ไฟฟ้า (DC) + ความร้อน

Proton Exhange Membrane Fuel Cell (PEMFC)


เซลล์เชื้อเพลิงแบบ PEMFC เป็นหนึ่งในเซลล์เชื้อเพลิง 6 ประเภท ที่ผลิตได้ง่ายที่สุด มีต้นทุนต่ำที่สุด และเกิดความร้อนในระหว่างทำปฎิกิริยาต่ำที่สุด เซลล์เชื้อเพลิงแบบ PEMFC มีการผลิตและจำหน่ายมากที่สุดในโลก ถูกนำไปใช้ในงานประเภทต่างๆ เช่น

  • 1) Portable ได้แก่ อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก พกพาได้ เช่น Mobile Power Bank, Military Power Pack เป็นต้น

  • 2) Station ได้แก่ เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS), เครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator) ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เป็นต้น

  • 3) Transport ได้แก่ ยานยนต์ประเภทต่างๆ รถโดยสารไฟฟ้า, รถยนต์ไฟฟ้า, รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า, รถบรรทุกไฟฟ้า, รถยกไฟฟ้า, โดรน, รถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงแทนที่แบตเตอรี่ รวมไปถึงการนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานอิสระสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า ที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบสายส่ง, สถานีเติมก๊าซไฮโดรเจน เป็นต้น